อนุรักษ์พลังงาน

ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในอุตสาหกรรมรากหญ้า

image descriptino

          ปัจจุบันจะพบว่าประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กอยู่มากมายในแต่ละพื้นที่ของทุกภูมิภาคในประเทศไทย ลักษณะการดำรงอยู่ของธุรกิจดังกล่าว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สามารถคงอยู่ได้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย อาทิ การผลิตเฉาก๊วย การต้มเกลือ การคั่วข้าวตอกข้าวพอง การต้มน้ำร้อนชำแหละหมู การต้มน้ำผลิตไอน้ำฆ่าเชื้อในโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง การทำสุรากลั่ยชุมชน และการอบเนื้อลำไย เป็นต้น ซึ่งเป็นการประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน โดยเฉพาะในด้านความร้อน ที่ผ่านมาเตาอบ เตาต้มที่เป็นอุปกรณ์หลักในการผลิตพลังงานความร้อนเหล่านี้ จะใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในปริมาณจำนวนมาก ซึ่งในอดีตเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันเชื้อเพลิงจากไม้ในชุมชนมีจำกัดในขณะที่ความต้องการในการใช้มีมากขึ้น ทำให้ต้องซื้อไม้ฟืนจากนอกชุมชน ซึ่งนับวันจะมีราคาแพงขึ้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพเตาต้มเตาอบเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

          นอกเหนือจากการประหยัดเชื้อเพลิง และปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้นยังเป็นสิ่งสำคัญที่แทรกซึมอยู่ในการดำรงอยู่ของชีวิตประจำวันของคนไทย สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจเหล่านี้คงอยู่ได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้กิจการดังกล่าวยังช่วยให้เกิดการสร้างรายได้ในท้องถิ่น ป้องกันการย้ายแรงงานจากท้องถิ่นเข้าสู่ในเมือง ซึ่งหากมีการย้ายแรงงานของคนหนุ่มสาวเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมในตัวเมืองมากๆ สิ่งที่เป็นปัญหาระยะยาวตามมาคือ ก่อให้เกิดความอ่อนแอของชุมชนภาคชนบท ซึ่งจะคงเหลือแต่คนแก่และเด็กเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในชนบท ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานที่สำคัญของชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ชุมชนอ่อนแอ

          แต่เราจะเห็นว่าไม่ใช่แค่ว่าธุรกิจมีความสอดคล้องกับความต้องการบริโภคของประชาชนไทยเท่านั้น ในด้านพลังงานที่นำมาเป็นกำลังสำคัญของกระบวนการผลิตถือเป็นปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยในโลกของการแข่งขันธุรกิจไหนที่สามารถลดต้นทุนการผลิตพร้อมมีคุณภาพ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ธุรกิจนั้นมีโอกาสในการอยู่รอดและยืนผงาดในโลกธุรกิจได้อย่างมั่นคง

          แต่ด้วยข้อจำกัดของธุรกิจโรงงานขนาดเล็ก กล่าวคือ  เป็นธุรกิจที่มีการบริหารงานอย่างเป็นอิสระ เงินทุนมักจะได้จากตัวเจ้าของเอง หรืออาจจะระดมเงินทุนมาจากกลุ่มใกล้ชิดหรือกลุ่มเครือญาติ พร้อมทั้งขอบเขตการดำเนินงานส่วนใหญ่มักจำกัดอยู่ในท้องถิ่น โดยที่คนงานและเจ้าของมักจะเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน โดยขนาดของกิจการมักจะมีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งการวัดอาจใช้ยอดขาย จำนวนพนักงาน กำไรรวมที่ทำได้หรือเกณฑ์อื่นใดที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้วัดก็ได้

          ด้วยการดำเนินงานของธุรกิจโรงงานขนาดเล็ก ที่ก่อเกิดมาจากหลายปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น เราจะพบได้ว่าด้วยโลกแห่งการแข่งขันที่มีระดับการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ทำให้หลายธุรกิจที่ไม่ได้มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการแข่งขันมีความจำเป็นต้องล้มเลิกกิจการดังกล่าวไป กล่าวคือ ด้วยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มจากขึ้น รวมถึงการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เท่าทันความต้องการ และการแข่งขันของท้องตลาด

          ดังนั้น ธุรกิจไหนที่มีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบันได้ จึงจะสามารถอยู่รอดได้ แต่ธุรกิจขนาดเล็ก มีจุดอ่อนตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าเป็นธุรกิจที่เจ้าของส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน ขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการพลังงานที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน และช่วยลดต้นทุน จึงก่อให้เกิดการใช้พลังงานที่ไม่ถูกวิธี และท้ายที่สุดจึงต้องจำเป็นยกเลิกกิจการไป

จากเหตุและผลดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของ การช่วยเหลือด้านองค์ความรู้แก่เจ้าของกิจการโรงงานขนาดเล็ก เพื่อก่อให้เกิดการนำองค์ความรู้ทีได้ไปสร้างประโยชน์ด้านการประหยัดพลังงานในโรงงานขนาดเล็ก โดยการแก้ไขสนับสนุน การให้ความรู้และร่วมมือกับสถานศึกษาในท้องถิ่น เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ด้านการส่งเสริมให้ธุรกิจดังกล่าวคงอยู่ได้ในโลกของการแข่งขัน และสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติต่อไป

Login

หากท่านต้องการเข้าระบบเพื่อใช้งานระบบการลางาน ตรวจสอบเวลางานและอื่นๆ
กรุณาเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ https://mis.ete.eng.cmu.ac.th หรือ
>>> click ที่นี่ <<<

การเข้าระบบด้วยฟอร์มข้างล่าง จะใช้เพื่อจัดการข้อมูลเว็บไซต์เท่านั้น
เช่น ข่าว ประกาศต่างๆ


Confirm

Do you want to continue ?

×