อนุรักษ์พลังงาน

การใช้พลังงานในการทำเกลือสินเธาว์

image descriptino


          บ่อเกลือ (ของอำเภอบ่อเกลือ) ตามหลักฐานทาง ธรณีวิทยา ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า ในบริเวณนี้มีการตกตะกอนของน้ำทะเล ในยุคเพอร์เนียน (280 ล้านปีมาแล้ว ต่อกับยุคไทรแอสสิค หรือ 230 ล้านปีมาแล้ว) จึงน่านจะมีชั้นเกลือหินใต้ดินหรือโดมเกลือหินอยู่ในบริเวณนี้ เมื่อมีการขุดบ่อก็อาจจะบังเอิญไปพบน้ำเค็มใต้ดิน ทำให้มีการผลิตเกลือจากบ่อน้ำเค็มเหล่านี้

          การผลิตเกลือที่บ้านบ่อหลวง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน  มีการผลิตกันมาตั้งแต่ในสมัยประวัติศาสตร์ ปรากฏชื่อครั้งแรกเมื่อมีการอ้างถึง "บ่อมาง" เมื่อพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ยกทัพมายึดเมืองน่านได้ในปี พ.ศ. 1993 นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ อาทิ เครื่องถ้วย , ศิลาจารึก , พระพุทธรูป ช่วยยืนยันว่า ชุมชนที่ผลิตเกลือที่บ้านบ่อหลวงเจริญรุ่งเรือง อนุมานว่าเป็นระยะที่ 1 เมื่อราวพุทธศตวรรษที่  21-22 หลังจากนั้น ไม่เป็นการแน่ชัดว่ามีชุมชนที่ผลิตเกลือสืบต่อ ๆ มาหรือไม่ เนื่องจากบ้านเมืองในล้านนากำลังวุ่นวายเพราะอยู่ภายใต้อำนาจของพม่า และไม่พบหลักฐานทางโบราณคดียืนยันอย่างแน่ชัด หากแต่จากข้อมูลประวัติชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเกิดชุมชนในระยะที่  2  ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 และกลุ่มชนเหล่านี้ เป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะเป็นชาวไตลื้อ ที่อพยพมาจากแถบเมืองบ่อแฮ่ ทางตอนใต้ของสิบสองปันนา ซึ่งเป็นเมืองที่มีการผลิตเกลือสินเธาร์เป็นปริมาณมาก โดยมีลักษณะและวิธีการผลิตคล้ายคลึงกัน

         การผลิตเกลือที่บ้านบ่อหลวง เริ่มจากการตักน้ำเกลือจากบ่อน้ำมาต้มในโรงต้มที่ต้องปิดทึบทั้ง 4 ด้าน เพื่อกันลม เป็นการประหยัดเชื้อเพลิงและทำให้เม็ดเหลือเล็กละเอียด เตาที่ใช้เป็นเตาดินทำจากดินดิบก่อเป็นรูปเตามีช่องใส่พื้นด้านหน้า  รูระบายควันและความร้อน 2 ช่อง ด้านหลังวางกระทะต้มเกลือได้ 2 กระทะ กระทะที่ใช้เป็นกระทะเหล็กไม่มีหูจับเส้นผ่าศูนย์กลาง โดยเฉลี่ย 85 ซม. การต้มเกลือ  1 กระทะ ต้องใช้เวลาประมาณ 4 ชม  ได้เกลือกระทะละ 15 กก.  รวม 30 กก. ต่อการต้ม  1  ครั้ง  การต้มเกลือจะต้อง ต้มทั้งวันทั้งคืน  รวม  5  คืน  6 วัน ต่อหนึ่งกระทะ แล้วจึงล้างกระทะพักเตา เพราะถ้าต้มนานกว่านี้จะทำให้กระทะและเตาแตกได้  เชื้อเพลิงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะต้องจ้างคนชักลากหาฟืนไว้ให้เพียงพอสำหรับการต้มในครั้งหนึ่ง ๆ หากผลิตพร้อมกันมาก ๆ ก็ทำให้เกิดการแย่งชิงกันได้ ผลผลิตเกลือจากบ้านบ่อหลวง ในปัจจุบันลดน้อยลงมาก เมื่อเทียบกับการผลิตในอดีตเพราะความนิยมบริโภคเกลือทะเลเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการคมนาคมที่สะดวก

        ลักษณะการต้มเกลือนี้ใช้เตาแบบดั้งเดิม ที่มีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ต้องใช้ฟืนเพื่อให้ความร้อนในปริมาณที่สูงมากกว่าที่จำเป็น ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น การปรับปรุงเตาต้มเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็จะทำให้มีการใช้ฟืนน้อยลงได้ ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งคือ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศน้อยลง

 

Login

หากท่านต้องการเข้าระบบเพื่อใช้งานระบบการลางาน ตรวจสอบเวลางานและอื่นๆ
กรุณาเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ https://mis.ete.eng.cmu.ac.th หรือ
>>> click ที่นี่ <<<

การเข้าระบบด้วยฟอร์มข้างล่าง จะใช้เพื่อจัดการข้อมูลเว็บไซต์เท่านั้น
เช่น ข่าว ประกาศต่างๆ


Confirm

Do you want to continue ?

×