บทสัมภาษณ์ผู้บริหารศูนย์วิจัยฯ ETE กับโครงการนำร่องลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ

          บทสัมภาษณ์ของ ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (Energy Technology for Environment Research Center : ETE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post News 15 Mar 2016 at 04:00 NEWSPAPER SECTION: BUSINESS | WRITER: YUTHANA PRAIWAN

 

          กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จัดสรรเงินกว่า 10 ล้านบาท ให้กับกระทรวงพลังงาน และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (Energy Technology for Environment Research Center : ETE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินงานโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดปัญหาหมอกควันจากการเผาไหม้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือด้วยการแปรรูปเป็นพลังงาน และโครงการนำร่องการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากข้าวโพดเพื่อลดปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ 

 

          ปัจจุบันปัญหาหมอกควันในภาคเหนือได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้มีการออกประกาศห้ามเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เศษใบไม้ต่างๆในช่วงฤดูแล้ง ในแต่ละปี วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด จำนวนถึง 112,000 ตัน หากกำจัดด้วยการเผาจะก่อให้เกิดฝุ่นควันในปริมาณ 3.4 ตัน ก๊าซคาร์บอนมอน็อกไซด์ 24 ตัน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ของประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยปกติเกษตรกรทั่วไปมักจะกำจัดเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรดังกล่าวด้วยการเผา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ

 

          ศูนย์วิจัยฯ ETE ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์ ทีมงานที่มีองค์ความรู้ด้านชีวมวลเป็นอย่างดี เล็งเห็นว่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพดดังกล่าว สามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งได้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเครื่องจักรระบบผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง ยังไม่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนเท่าที่ควร จนกระทั่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ได้ให้งบสนับสนุนแก่ ศูนย์วิจัยฯ ETE ในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อนำร่องการผลิตชีวมวลเป็นพลังงานทดแทน และสามารถลดปัญหาหมอกควันได้ระบบผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งดังกล่าว จะช่วยกำจัดสิ่งที่เหลือจากการปลูกข้าวโพด คือ ต้น/ตอ/ใบ และ ซัง/เปลือก นอกจากนี้ยังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ จากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรดังกล่าว ซึ่งเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์การเผาไหม้จริง เช่น นำไปใช้กับหม้อไอน้ำ โรงอบ เตาเผา เป็นต้น

 

          แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำในการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล แต่วัตถุดิบส่วนใหญ่จะเป็น แกลบ เศษไม้ ชานอ้อย กะลามะพร้าวและไม้โตเร็ว แต่ยังไม่มีเทคโนโลยีใด ที่นำมาประยุกต์ใช้สำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด กระทรวงพลังงานจึงตัดสินใจที่จะจัดทำเป็นโครงการนำร่องขึ้นมา เริ่มแรกจะเป็นการศึกษาศักยภาพของการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพดมาทำเป็นชีวมวลอัดแท่ง โดยได้รับงบสนับสนุนราว 4 ล้านบาท ต่อมาด้วยงบประมาณราว 5 ล้านบาท ได้นำมาสนับสนุนการดำเนินงานในระยะที่ 2 เพื่อเป็นการนำร่องการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากข้าวโพด ถึงแม้ว่าเครื่องจักรในการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล จะสามารถสั่งนำเข้าจากต่างประเทศได้ แต่ศูนย์วิจัยฯ ETE มีความต้องการที่จะสร้างเครื่องจักด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุดิบในพื้นที่ซึ่งชีวมวลอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพดนี้ สามารถผลิตได้จาก ลำต้นและใบ แต่ในเบื้องต้นนั้น เราจะมุ่งเน้นไปที่ซังข้าวโพด ซึ่งเครื่องจักรดังกล่าว ศูนย์วิจัยฯ ETE ได้ออกแบบและสร้างนั้น มีกำลังการผลิต 1 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งเสร็จภายในเดือนเมษายน 2559 นี้ ที่สหกรณ์การเกษตรอำเภอแม่แจ่ม ซึ่งทางสหกรณ์ฯเองมีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการกำลังคน และการจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพดเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิต
ภายหลังจากการติดตั้งและเริ่มเดินระบบเครื่องจักรดังกล่าวแล้ว ศูนย์วิจัยฯ ETE จะทำการประเมินผล โดยการเก็บข้อมูลการทำงานของเครื่องจักร ทั้งในส่วนของวัตถุดิบที่ส่งเข้าระบบและชีวมวลอีดแท่งที่ผลิตได้ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรดังกล่าว

 

          ทั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยจาก นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ว่า “กระทรวงพลังงานจะจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นเงินอุดหนุนสำหรับการสนับสนุนผู้ประกอบการที่สนใจจะปรับปรุงเครื่องจักรในโรงงานของตนเอง ที่จะเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงเดิมที่มีอยู่มาใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากข้าวโพด”

 

ที่มา : http://www.bangkokpost.com/business/news/898172/b10m-allotted-for-biomass-corn-pellets

 

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง (Corn Pellet) ได้ที่ :
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ 053-944904 ได้ในวันและเวลาราชการ

 

Login

หากท่านต้องการเข้าระบบเพื่อใช้งานระบบการลางาน ตรวจสอบเวลางานและอื่นๆ
กรุณาเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ https://mis.ete.eng.cmu.ac.th หรือ
>>> click ที่นี่ <<<

การเข้าระบบด้วยฟอร์มข้างล่าง จะใช้เพื่อจัดการข้อมูลเว็บไซต์เท่านั้น
เช่น ข่าว ประกาศต่างๆ


Confirm

Do you want to continue ?

×