พลังงานทดแทน

จากของเสียในชุมชนเปลี่ยนรูปไปสู่พลังงานทดแทนในอนาคต (Waste to Energy)

image descriptino

โลกในปัจจุบันได้เกิดการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านประชากร ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร ความต้องการด้านพลังงาน ซึ่งทุกอย่างล้วนรวมไปถึงการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และถึงแม้ว่าโลกจะเกิดการพัฒนาไปในทิศทางไหน มนุษย์ทุกคนก็ล้วนแต่อาศัยปัจจัย 4 ที่สำคัญของมนุษย์ กล่าวคือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งในกระบวนการผลิต การใช้งาน รวมไปถึงการอุปโภคและบริโภคปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ล้วนก่อให้เกิดของเสียจากกิจกรรมต่างๆ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะปริมาณมูลฝอยที่มนุษย์ผลิตขึ้นมานั้น ไม่สามารถทำลายได้หมดหรือไม่สามารถทำลายได้ในช่วงเวลาสั้นๆ  จึงส่งผลก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ของเสีย ขยะมูลฝอย หรือขยะชุมชน” ขึ้นภายในชุมชน

ของเสีย ขยะมูลฝอย หรือขยะชุมชน (Municipal Solid Waste) หมายความถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชน หรือครัวเรือน ยกเว้นวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานซึ่งมีลักษณะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

จากความแตกต่างในบริบทของแต่ละพื้นที่ กิจกรรมในการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ฐานะทางเศรษฐกิจ ค่านิยม และระดับความเจริญของพื้นที่ จึงส่งผลทำให้ส่วนประกอบของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นภายในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันทั้งในด้านปริมาณ สัดส่วน และประเภทของขยะ ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวลล้อม ปี 2548 พบว่าปริมาณขยะในเทศบาล มีสัดส่วนของเศษอาหารและขยะที่เป็นสารอินทรีย์มากที่สุด คือร้อยละ 63.57 รองลงมาได้แก่ พลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ ผ้าไม้ ยางหรือหนัง ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเป็นขยะอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ขยะจำพวก พลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ จะสามารถนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำไปแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนขยะอินทรีย์จะถูกนำไปจัดการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฝังกลบ หมักทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ผลิตก๊าซชีวภาพ ฯลฯ

สำหรับแนวทางการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ภายในประเทศ และต่างประเทศนั้นจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ อาทิเช่น ด้านเทคนิค (ปริมาณขยะในแต่ละวัน การขนส่ง การเก็บรวบรวมขยะ คุณสมบัติและประเภทของขยะ) ด้านสังคม (วิถีชีวิต พฤติกรรมการอุปโภคและบริโภค) ด้านสิ่งแวดล้อม (พื้นที่ติดตั้ง สภาพภูมิประเทศ แหล่งน้ำ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ) และด้านเศรษฐศาสตร์ (การลงทุน, ค่าบำรุงรักษาระบบ ค่าดำเนินงาน ผลตอบแทนที่ได้รับ) ฯลฯ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการใช้เทคโนโลยีจัดการขยะมูลฝอยหลากหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และผลผลิตที่ได้จากเทคโนโลยี โดยสามารถแบ่งเทคโนโลยีการจัดการขยะออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกเพื่อการย่อยสลายขยะ เช่น เทคโนโลยีฝังกลบขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) เทคโนโลยีการคัดแยก (Front-End-Treatment) การหมักทำปุ๋ย (Composting) วิธีการบำบัดเชิงกล-ชีวภาพ (Mechanical Biological Waste Treatment: MBT) เป็นต้น และประเภทที่สองการจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงาน (Waste to Energy) เช่น การแปรรูปขยะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง (Pyrolysis) เทคโนโลยีการเผาไหม้แบบแก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) เทคโนโลยีเตาเผาแบบตะกรับ (Stoker-type Incineration) เทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เป็นต้น

 

Login

หากท่านต้องการเข้าระบบเพื่อใช้งานระบบการลางาน ตรวจสอบเวลางานและอื่นๆ
กรุณาเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ https://mis.ete.eng.cmu.ac.th หรือ
>>> click ที่นี่ <<<

การเข้าระบบด้วยฟอร์มข้างล่าง จะใช้เพื่อจัดการข้อมูลเว็บไซต์เท่านั้น
เช่น ข่าว ประกาศต่างๆ


Confirm

Do you want to continue ?

×